ทำยังไง
ลูกค้าถึงจะชอบการบริการ
(ล่าม) ของเรา ?
ในการทำอาชีพอะไรก็ตาม
แน่นอนว่าเราต้องการให้ผลงานของเราออกมาดีที่สุด
เพื่อให้ได้รับการประเมินจากลูกค้า
ให้ได้ใช้บริการกับเราอีกต่อไป
“ด้านอุปกรณ์ เครื่องมือ”
“ด้านจิตใจ”
“ด้านทักษะและความรู้”
ติดตามอ่านกันได้เลย
1. ด้านอุปกรณ์ เครื่องมือ
อุปกรณ์จดบันทึก เช่น สมุด กระดาษ
การแปลในรูปแบบใดก็ตาม
ควรจะมีอุปกรณ์จดบันทึก
เพื่อเก็บคำสำคัญต่าง ๆ ของผู้พูด
มาแปลไม่ให้ตกหล่น
การจดบันทึกไม่จำเป็นต้องจดทุกคำที่พูด
จดเอาแค่คำสำคัญ
หรือจดเป็นสัญลักษณ์ก็ได้
เอกสารศึกษาล่วงหน้า (ถ้ามี)
การเตรียมตัวก่อนออกรบเป็นสิ่งสำคัญ
การเตรียมตัวหมายถึง
ข้อมูล เนื้อหาต่าง ๆ
ที่ต้องใช้แปลหรือล่ามในงานนั้น ๆ
ถ้ารู้ข้อมูลมาก่อน
เราก็จะสามารถเตรียมข้อมูล
รวมไปถึงการคาดการณ์เรื่องราวสนทนาที่อาจเกิดขึ้น
เราได้มีโอกาสคิดคำพูดไว้รอ
โดยไม่ต้องใช้พลังสมองมากในงานจริง
ถ้าไม่มีเอกสาร
อย่างน้อยขอให้รู้ “หัวข้อ” ในการสนทนา
ว่าง ๆ ก็ศึกษาคำศัพท์ไปเรื่่อย ๆ
2. ด้านจิตใจ
ความมั่นใจ
ความมั่นใจเป็นสิ่งที่สำคัญในทุกอาชีพ
ลูกค้าจะเชื่อมั่นในการแปลของเราหรือไม่
อยู่ที่ท่าทีความมั่นใจของเรา
ถึงแม้ว่าแปลไม่ถูก
แต่ดูมีความมั่นใจมาก
ลูกค้าก็จะเชื่อมั่นใจการแปลของเรา
แต่ในขณะเดียวกัน
ต่อให้เราแปลอย่างแม่นยำแคไหน
ถ้าเราดูไม่มั่นใจ
ส่งผลให้ลูกค้ามีความกังวลต่อการแปลของเราได้
แต่อย่างไรก็ตาม
เราต้องพยายามแปลให้ถูกต้องแม่นยำที่สุด
ความอดทน
แน่นอนว่าล่ามต้องเจอสถานการณ์ยาก ๆ อยู่หลายครั้ง
ไม่ว่าจะเป็น
การเข้าไปในการประชุมที่มีความกดดันมาก ๆ
หรือใช้เวลาในการประชุมมาก
เช่น 1-2 ชั่วโมงติดต่อกัน
การที่อดทนรักษาสมาธิไวให้ได้ก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้
สมาธิ สติ
การล่าม หรือการแปลเราต้องมีสมาธิ
เพื่อให้เข้าใจความหมายของผู้พูดอย่างแม่นยำ
และส่งข้อมูลไปยังผู้ฟังอย่างถูกต้อง
การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
สามารถช่วยให้มีสมาธิที่ดีในวันนั้น ๆ ได้
ไหวพริบ
ต่อให้เราไม่เข้าใจในความหมายทั้งหมดของผู้พูด
เราต้องมีไหวพริบ
ในการดูบริบทและสถานการณ์ในตอนนั้น ๆ ว่า
ผู้พูดต้องการให้สื่ออะไร ?
อาจต้องใช้ประสบการณ์สักเล็กน้อย
3. ด้านทักษะและความรู้
ระดับภาษาต้องได้มากกว่าพื้นฐาน
(พูดคุยในชีวิตประจำวันได้ขึ้นไป)
พื้นฐานเป็นสิ่งที่สำคัญกว่าการศึกษาคำศัพท์เฉพาะทาง
ถ้าเรามีพื้นฐานแม่น
ต่อให้เราไม่เข้าใจคำศัพท์เฉพาะ
ผู้พูดมีโอกาสที่ปรับคำพูดให้สามารถให้ล่ามอธิบายได้
หลังจากนั้นค่อยแปลข้อมูลให้ผู้ฟังต่อไป
แต่ในขณะเดียวกัน
ถ้ารู้คำศัพท์เฉพาะ
แต่พื้นฐานไม่แม่น
เช่นเรื่องไวยากรณ์
ทำให้อาจสื่อสารกันผิดพลาด
ความหมายไม่ตรงตามที่ผู้พูดต้องการให้แปล
แต่อย่างไรก็ตามเป็น
สิ่งที่ควรจะฝึกไปควบคู่กัน
ฝึกทักษะล่ามอย่างสม่ำเสมอ
การรู้ภาษาญี่ปุ่นได้มากหรือเก่ง
ไม่ได้แปลว่าเราจะทำล่ามได้ดี
เนื่องจาก ล่ามเป็นสิ่งที่แปลงภาษาของทั้ง
“สองภาษา”
การแปลงทั้งสองภาษาให้ดูเป็นธรรมชาติ
การแปลตรงตัวเฉย ๆ จะไม่ตอบโจทย์
สังเกตได้จากเครื่องมือแปลภาษาที่ยังไม่ได้พัฒนานัก
การแปลไปตรง ๆ ตัว ความหมายมีความผิดเพี้ยนไป
ต้องหมั่นฝึกการแปลโดยการคิดสิ่งต่าง ๆ
เป็นสองภาษา
หรือการฝึกจดบันทึกในโอกาสต่าง ๆ เป็นต้น
สรุป
ล่ามที่ดีควรมีพร้อมในด้านต่าง ๆ
ประกอบไปด้วย
ด้านอุปกรณ์
ด้านจิตใจ
ด้านทักษะความรู้
เมื่อมีพร้อมในสิ่งเหล่านี้
หมั่นฝึกทักษะล่ามอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อให้ลูกค้าได้พึงพอใจในการบริการของเรา