ติดตามเพจ Facebook เพื่อเป็นกำลังใจ : )FACEBOOK

ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น “ญี่ปุ่นศึกษา” มีการเรียนการสอนอย่างไร

หลังจากได้รับทุนญี่ปุ่นศึกษา
– ต้องเรียนอะไร ?
– ได้ทำอะไรบ้าง ?

หลังจากที่ได้รับทุนไปเรียนแล้ว

เราจะได้เรียนอะไรอย่างไร
ดำเนินในเรื่องของ Study Plan อย่างไร

บทความนี้
จะมาเล่าประสบการณ์ให้ผู้อ่านได้ลองติดตามอ่านกัน

บทความนี้เหมาะสำหรับใคร
  • ผู้ที่ได้รับทุนรัฐบาลญี่ปุ่น “ทุนญี่ปุ่นศึกษา”
  • ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นที่สนใจทุนรัฐบาลญี่ปุ่น
  • ผู้อ่านทั่วไปที่สนใจ
Contents

ความเดิมตอนที่แล้ว

Study Plan ที่เขียน

ผู้เขียน เขียนเรื่อง
“ความแตกต่างในคำศัพท์ที่มีความใกล้เคียง”

เช่น คำว่า 悲しい(เศร้า) กับ 切ない(เศร้า)
ทั้งสองคำนี้เมื่อเป็นแปลออกมาตรงตัว
จะมีความหมายเหมือนกัน

แน่นอนว่าชาวต่างชาติที่เรียนภาษา
จะเกิดความสงสัยว่า
แตกต่างกันอย่างไร ?

ผู้เขียนต้องการที่รวบรวมคำศัพท์อย่างตัวอย่าง
มาสรุปความแตกต่างในเรื่องของความหมาย
ให้เกิดความชัดเจน

เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนภาษาญี่ปุ่น

โดยที่จะทำการค้นค้วา
โดยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องใ
นห้องสมุดในประเทศญี่ปุ่น

วิชาที่เรียน

เมื่อได้รับทุนมาแล้ว
เราต้องเรียนวิชาต่าง ๆ
ให้ได้หน่วยกิตตามที่กำหนด

จำไม่ได้ว่าต้องเรียนกี่หน่วยกิต

แต่จำได้ว่า มีเวลาพอที่จะเที่ยว
หรือ ทำพาร์ทไทม์ได้อยู่
แสดงว่าไม่ได้เยอะมาก

วิชาที่เรียนมีหลากหลาย ตั้งแต่

  • ภาษาญี่ปุ่น
  • วิชาเรียนร่วมกับคนญี่ปุ่น
    เช่น จิตวิทยา หรือ ข้อมูลสารสนเทศเป็นต้น

ซึ่งความยากก็แตกต่างกันไปในแต่ละวิชา

ถ้าอยากได้หน่วยกิตง่าย ๆ
ให้ลงเรียนเกี่ยวกับเรียนภาษาญี่ปุ่น
ถ้ายาก ๆ ก็ลงเรียนกับคนญี่ปุ่น

ผู้เขียนลงแบบ 6:4
(ภาษา 6 เรียนกับคนญี่ปุ่น 4)

เนื่องจากอยากมีเวลาเที่ยวเยอะ ๆ (ฮ่า)

โปรเจกต์

นอกจากเราต้องมีหน่วยกิตให้ครบ

เราต้องทำโปรเจกต์
ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เราเขียนใน Study Plan
(หรือไม่ก็ได้แล้วแต่อาจารย์ที่ปรึกษา)

สามารถทำได้ทั้งแบบเชิงคุณภาพ1 และเชิงปริมาณ2

อยากที่ผู้อ่านได้ทราบกันแล้วว่าผู้เขียนจะทำในเรื่องอะไร

แต่อันที่จริง ผู้เขียนได้เปลี่ยนมาทำในเรื่อง
“มุมมองคนญี่ปุ่นที่มีต่อสื่อเกม”

เนื่องจากอาจารย์ที่ปรึกษาให้คำแนะนำว่า

“การหาคำศัพท์เหมือนอย่างที่เขียนใน Study Plan
ไม่ต้องทำในญี่ปุ่นก็ได้”

ปรับโปรเจ็กต์ Study Plan

หลังจากได้คำแนะนำ
ผู้เขียนจึงได้มีการปรับรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • อยากจะทราบมุมมองคนญี่ปุ่นที่มีต่อสื่อเกม (What)
  • เพื่อเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมเกมได้ทราบถึง
    ความต้องการของตลาดเพื่อได้นำไปพัฒนา(For)
    เนื่องจาก อุตสาหกรรมเกมในประเทศญี่ปุ่น
    มีการเติบโตตั้งแต่สมัย 19XX (ใส่ข้อมูลอ้างอิง))
  • แต่ผู้คนส่วนมากรวมไปถึงชาวญี่ปุ่น กลับมองว่า
    สื่อเกม สื่ออนิเมะ เป็นต้น เป็นสื่อสำหรับเด็ก (Why)
  • ตัวอย่าง (บลา ๆ ยกอ้างอิง ) (Example)
  • ศึกษาโดยให้ชาวญี่ปุ่นทำแบบสำรวจ (How)

ประมาณนี้ ทำในแบบเชิงปริมาณ

แต่ยังไงก็ต้องหาข้อมูลอ้างอิง
ที่มีความน่าเชื่อถือมารองรับข้อมูล

เรียน ทำโปรเจกต์ เที่ยว”
เป็นคำสำคัญของทุนญี่ปุ่นศึกษา

การทำโปรเจ็กต์

เป็นการดำเนินการโดยใช้เวลาทั้งปีที่เราเรียนอยู่ที่นี้

จะแบ่ง Process เป็นขั้นเป็นตอน

เริ่มด้วย การนำเสนอให้อาจารย์ที่เกี่ยวข้องให้ทราบ

จากนั้นจึงรวมรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อทำโปรเจ็กต์

โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาสอบถามความคืบหน้าเป็นพัก ๆ

จนในที่สุดเราก็จะได้เล่มรายงานโปรเจ็กต์
ที่เราจัดทำกว่า สิบ ๆ หน้าสำเร็จ

จากนั้นจึงนำเสนอสรุป เป็นอันจบพิธี

กลับประเทศไทยได้อย่างปลอดภัย

สรุป

  • สามารถเลือกเรียนวิชาอะไรก็ได้ตามที่กำหนด
    เพียงแค่เก็บหน่วยกิตให้ครบ
  • ทำโปรเจ็กต์ที่เขียนใน Study Plan (หรือทำอย่างอื่น)
  • เก็บเกี่ยวประสบการณ์ต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุด
  1. การทำโปรเจกต์โดย หาข้อมูลอ้างอิงในตำราต่าง ๆ ↩︎
  2. การทำโปรเจกต์โดยการออกไปสัมภาษณ์หรือเก็บข้อมูลกับผู้คนเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงตัวเลข ↩︎
  • Copied the URL !
  • Copied the URL !
Contents