ติดตามเพจ Facebook เพื่อเป็นกำลังใจ : )FACEBOOK

แนะนำทุนรัฐบาลญี่ปุ่น “ทุนญี่ปุ่นศึกษา” วิธีการเตรียมตัว

ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น เป็นทุนให้เปล่าโดยที่เราไม่ต้องออกค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการศึกษา

นอกจากชาวญี่ปุ่นแล้ว ยังได้เปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติเข้าไปรับทุนเพื่อศึกษาในด้านต่าง ๆ ตามประเภทดังต่อไปนี้

  1. ทุนนักศึกษาปริญญาตรี (Undergraduate Students)
  2. ทุนนักศึกษาวิจัย (Research Students)
  3. ทุนญี่ปุ่นศึกษา (Japanese Studies Students)
  4. ทุนฝึกอบรมวิชาชีพครู (Teacher Training Students)
  5. ทุนนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิค (College of Technology (KOSEN) Students)
  6. ทุนนักศึกษาฝึกอบรมวิชาชีพ (Specialized Training College Students)
  7. ทุนนักศึกษาประเภท Young Leaders’ Program (YLP)

ทุนในแต่ละประเภท มีเงื่อนไขที่แตกต่างกันไป

บทความนี้ แนะนำเรื่อง ทุนญี่ปุ่นศึกษา ซึ่งเป็นทุนที่ผู้เขียนได้รับในสมัยเรียนมหาลัยให้ผู้อ่านได้ติดตามอ่านกันครับ

บทความนี้เหมาะสำหรับใคร
  • ผู้ที่มองหาทุนศึกษาต่อประเทศญี่ปุ่น
  • ผู้ที่สนใจทุนรัฐบาลญี่ปุ่น
  • ผู้ที่สนใจทุนรัฐบาลญี่ปุ่น “ทุนญี่ปุ่นศึกษา”
  • ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นที่หาโอกาสในการใช้ภาษา
  • ผู้ที่สนใจเรียนภาษาญี่ปุ่น
Contents

คำถามที่พบ

ช่วงที่อยูู่ประเทศญี่ปุ่นหลังจากได้ทุนญี่ปุ่นศึกษาปี 2016

ผู้เขียนได้มีโอกาสทำช่อง YouTube ในรูปแบบ Vlogs

และได้ทำคลิปเกี่ยวกับแนะนำทุนญี่ปุ่นศึกษา

พบคำถามต่าง ๆ ที่น่าสนใจตามด้านล่าง

  • ได้ทุนแล้วต้องดรอปหรือไม่ ?
  • ยากหรือไม่ ?
  • ต้องมีทักษะภาษาอังกฤษหรือไม่ ?
  • เขียน Study Plan เรื่องอะไรดี ?
  • จำกัดอายุหรือไม่ ?
  • ทุนกี่ปี ?
  • ช่วงเปิดรับทุน ?

ทุนญี่ปุ่นศึกษา คือ

อย่างที่เราได้ทราบแล้วว่า ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น มีหลายประเภท

ทุนญี่ปุ่นศึกษาคืออะไร ?

สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยคัดเลือกนักศึกษาไทยเพื่อไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยที่ญี่ปุ่น เพื่อเพิ่มพูนทักษะความรู้ภาษาญี่ปุ่น ศึกษาวัฒนธรรมและสภาพสังคมญี่ปุ่น เป็นประจำทุกปี ผู้สมัครต้องมีสัญชาติไทย อายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 30 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 หรือ 3 และศึกษาภาษาญี่ปุ่นเป็นวิชาเอกในระดับปริญญาตรี ระยะเวลารับทุนการศึกษา 1 ปีการศึกษา รับสมัครเดือนธันวาคมของทุกปี และเริ่มรับทุนตั้งแต่เดือนกันยายน หรือ ตุลาคมของปีเดียวกัน ในขั้นตอนการรับสมัคร จำเป็นต้องยื่นเอกสารแสดงผลการศึกษาและเอกสารรับรองสถานภาพนักศึกษา เป็นฉบับจริง ภาษาอังกฤษ

สถานเอกอัครทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย

สรุปคือ เป็นทุนที่เราจะศึกษาในเรื่องของ

ภาษาญี่ปุ่น” หรือ “วัฒนธรรมญี่ปุ่น” ที่ประเทศญี่ปุ่น

โดยที่เราต้อง ศึกษาอยู่ในชั้น ปีที่ 2 หรือ 3 ในเอกภาษาญี่ปุ่น

เราจะได้ศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่น 1 ปีการศึกษา หรือ 1 ปี

ถ้าได้ไปต้องดรอปเรียน 1 ปี

เลือกไปมหาลัยใดได้บ้าง

หลังผ่านการคัดเลือกแล้วเรียบร้อย

สามารถเลือกได้ 3 มหาวิทยาลัย ที่เราอยากศึกษา

ดูได้ที่ Course Guide

ความยาก

ข้อสอบแบ่งเป็นพาร์ทต่าง ๆ มีเขียนคำอ่านคันจิ และเขียนคันจิ รูปแบบไม่เหมือนกับ JLPT

แต่ก็ข้อสอบก็ไม่ได้ยากนัก ประมาณ N3+

ตัวอย่างข้อสอบ

การเตรียมตัว

Kentar

ทุนยอดนิยม แน่นอนว่าการแข่งขันสูง
การที่เราจะได้ทุนต้องมีการเตรียมการให้ดี

ระดับภาษา

ถ้าให้ดีควรจะได้ผมสอบวัดระดับ N3 เป็นต้นไป

เนื่องจากผู้ผ่านการคัดเลือกจะอยู่ในระดับ N2 หรือ N1

การเรียนที่ประเทศญี่ปุ่น ในหลายวิชา เราจะได้ศึกษาร่วมกับคนญี่ปุ่น

แน่นอนว่าการเรียนการสอนเป็นภาษาญี่ปุ่นทั้งหมด

จึงต้องมีทักษาภาษาพอสมควร

ต้องได้ภาษาอังกฤษ หรือไม่ ? : ไม่จำเป็น แต่ถ้าได้ก็ดี

Study Plan

สิ่งที่สำคัญสุด ๆ ยิ่งไปกว่าการเตรียมในเรื่องของภาษาคือ Study Plan

Study Plan คือ แผนการเรียนของเราว่า

เราต้องการไปศึกษาอะไรจาก “ทุนญี่ปุ่น” ศึกษา

Study Plan เขียนอย่างไร

ประเด็นสำคัญในการเขียนคือ

  • เราจะไปศึกษา “อะไร” (What)
  • “ทำไม” ถึงอยากศึกษาเรื่องนั้น (Why)
  • ศึกษาเรื่องนั้น “อย่างไร” (How)

ให้เราเขียนโดยโฟกัสสามข้อเหล่านี้

โดยต้องเป็นเรื่องที่ทำได้เฉพาะเมื่ออยู่ญี่ปุ่นด้วย

(ถ้าเป็นไปได้)

ตัวอย่าง :

ข้าพเจ้าต้องการศึกษาเรื่อง XXX ของนินจาว่า XXX หรือไม่ ? เคยได้ศึกษามาว่านินจามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ (บลา ๆ ) ข้าพเจ้าจึงเกิดความสนใจและเกิดข้อสงสัยในประเด็น XXX จึงต้องการไปศึกษา XXX ที่เมือง XXX ของประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นต้นกำเนิดของ XXX ข้าพเจ้าจะศึกษาโดยค้นหาเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในเมือง XXX เพื่อค้นหาคำตอบในประเด็น XXX ประเด็นดังกล่าวจะช่วยให้เกิด xxx ให้สังคมเข้าใจ บลา ๆ ยิ่งขึ้นไป

เป็นต้น

ทั้งนี้เวลาอยู่ญี่ปุ่นแล้ว อาจเปลี่ยนทำอย่างอื่นนอกจากที่เขียนไว้ก็ได้

ประสบการณ์

ข้อสอบ :

การเตรียมตัวในเรื่องข้อสอบ

อาจเตรียมตัวคล้ายกับเตรียมสอบวัดระดับ JLPT

นั่นคือ ลองทำข้อสอบเก่า ตัวไหนที่ไม่แม่น

ให้ศึกษาเพิ่มเติม

ประกอบกับฝึกเขียนคันจิง่าย ๆ ระดับ N3 เอาไว้

Study Plan:

ผู้เขียน เขียนเรื่อง

“ความแตกต่างในคำศัพท์ที่มีความใกล้เคียง”

เช่น คำว่า 悲しい(เศร้า) กับ 切ない(เศร้า)

ทั้งสองคำนี้เมื่อเป็นแปลออกมาตรงตัว

มีความหมายเหมือนกัน

แน่นอนว่าชาวต่างชาติที่เรียนภาษาญี่ปุ่น

เกิดความสงสัยว่า แตกต่างกันอย่างไร ?

ผู้เขียนต้องการที่รวบรวมคำศัพท์อย่างตัวอย่างมาสรุปความแตกต่างในเรื่องของความหมายให้เกิดความชัดเจน

เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนภาษาญี่ปุ่น

โดยที่จะทำการค้นค้วาโดยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องในห้องสมุดในประเทศญี่ปุ่น

สัมภาษณ์ :

หลังผ่านข้อเขียน เป็นรอบสัมภาษณ์

การเตรียมตัวไม่ยาก

ซ้อมแนะนำตัว ทบทวน Study Plan ที่เขียนไป

พยายามเขียนให้ชัดเจนจะได้ไม่เจอคำถามแปลก ๆ

Kentar

สบาย ๆ

สรุป

ทุนรัฐบาลญี่ปุ่นเปิดรับสมัครทุกปี
แต่ทุนญี่ปุ่นศึกษา สมัครได้ใน ชั้นปี 2 หรือ 3 เท่านั้น
ใครที่สนใจ
พยายามเตรียมตัวให้ดีเพื่อไม่ให้พลาดโอกาสดี ๆ เช่นนี้

รายละเอียดข้อมูลทุนรัฐบาลญี่ปุ่น
สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่นี่
สถานเอกอัครทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย

อยากไปเรียนฟรี ๆ ที่ญี่ปุ่น 1 ปี ✈️ ทำยังไงดี 🤔 สมัครทุนรัฐบาลญี่ปุ่น ! 🇯🇵 . หนังสือ TRY! เตรียมสอบวัดระดับ JLPT N1 / N2 / N3 / N4 / N5 [📍พิกัด Shopee] https://shope.ee/30Qo7V0fem

โพสต์โดย Happykentar เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม 2024
  • Copied the URL !
  • Copied the URL !
Contents