– ช่วงเวลาที่ปีนฟูจิ ?
– อุปกรณ์ที่ควรมีในการปีนฟูจิ ?
– เส้นทางปีนเขาฟูจิสำหรับมือใหม่
– ใช้เวลาในการปีนเขา เท่าไร ?
– ข้อควรระวังในการปีนเขาฟูจิคือ ?
– มารยาทบนภูเขาคืออะไร ?
ช่วงที่อยู่ญี่ปุ่นในระหว่างที่ได้ทุนรัฐบาลญี่ปุ่น
บทความเกี่ยวกับทุนรัฐบาลญี่ปุ่น
หลังจากทำโปรเจกต์เสร็จเรียบร้อย
ยังมีมีเวลาในการท่องเที่ยวก่อนกลับประเทศไทย
ผู้เขียนได้มีโอกาสขึ้นเขาฟูจิคนเดียว
บทความนี้
มาเล่าประสบการณ์ให้ได้ติดตามอ่านกันครับ
- ผู้ที่สนใจปีนภูเขาไฟฟูจิ
- ผู้ที่กังวลว่าการปีนภูเขาฟูจิ ไปคนเดียวได้หรือไม่
แรงจูงใจในการไปปีนภูเขาไฟฟูจิ
- ความอยากลอง “สักครั้งหนึ่งในชีวิต” ว่าเป็นอย่างไร
- อยากท้าทายสิ่งใหม่ ๆ ที่คิดว่ายาก
- อยากเพิ่มความมั่นใจในความสามารถของตัวเอง
ช่วงเวลาที่ไป
ภูเขาฟูจิสามารถขึ้นไปปีนพิชิตยอดได้ในช่วงเดือน กรกฎาคมไปจนถึงเดือนสิงหาคม
ผู้เขียนไปช่วงเดือนสิงหาคม
ซึงเป็นเวลาที่ใกล้จะได้กลับประเทศไทยแล้ว
การเตรียมพร้อมก่อนการเดินทาง
- เช็คพยากรณ์อากาศ (แต่สภาพอากาศค่อนข้างแปรปรวน)
- จองที่พักบนเขา (ถ้าไม่จองไม่มีที่ให้พัก)
- ร่างกาย (ผู้เขียนเดินไปมหาลัยขึ้นเนินลงเนินเป็นประจำจึงพอจะมีแรง)
อุปกรณ์ที่เตรียมไป
พยายามเอาของไปให้น้อยที่สุดใส่กระเป๋าสะพาย
อุปกรณ์ทั้งหมดที่ผู้เขียนเตรียมไปดังต่อไปนี้
- ชุด 1 ชุด (กะไม่อาบน้ำ)
- ชุดกันหนาว (ถึงจะไปฤดูร้อน บนเขาหนาวจนมือสั่น)
- รองเท้าสำหรับเดิน (แต่ถ้าให้ดีควรเป็นรองเท้าปีนเขา)
- ไฟฉายคาดหัว (สำหรับช่วงเช้ามืดที่เดินทางจากที่พักไปจนถึงยอด)
- น้ำดื่ม 2 ลิตร (สำหรับสองวัน 1 คืน)
- ขนมให้พลังงาน Calorie Mate 4-5 อัน
- ชุดกันฝนเล็ก ๆ
- เงินสด
- Power bank
- หมวกปีนเขา (กันแดด)
- ถุงมือ (กันหนาว)
- ยาแก้ไข้ ยาแก้ท้องเสีย
เส้นทางในการขึ้นเขาฟูจิ
เส้นทางในการปีนภูเขาฟูจิมีหลายเส้นทาง
ความยากง่ายในแต่ละเส้นทาง มีความแตกต่างกัน
เส้นทางที่ผู้เขียนเลือกไปคือ “เส้นทางโยชิดะ”
เพราะเป็นเส้นทางสำหรับมือใหม่
มีสถานที่อำนวยความสะดวกมากกว่าเส้นทางอื่น
แต่นักท่องเที่ยวจะเยอะมากกกกกก
เส้นทางโยชิดะ ขึ้นเขาและลงเขาขาละ 7.5 กิโลเมตรกว่า ๆ
เราจะใช้เวลาปีนเขาโดยประมาณ
6 ชั่วโมง ลงเขา 4 ชั่วโมง
การเดินทาง
ผู้เขียนอยู่เมืองโกเบจึงวางแผนตั้งต้นจากโกเบ
ทั้งนี้ ถ้าอยู่โตเกียวจะเดินทางสะดวกกว่าอยู่ฝั่งโอซาก้า
โกเบ → โอซาก้า
นั่งรถไฟสายฮังคิวธรรมดาในช่วงเย็น ไปสถานีขึ้นรถบัส
โอซาก้า → สถานีคาวากุจิโกะ
นั่งรถบัสกลางคืน นอนมาบนรถให้ได้เพื่อให้มีแรงปีนเขา
รถบัสจะถึงสถานีคาวากุจิโกะในช่วงเช้า ๆ
สถานีคาวากุจิโกะ → ภูเขาฟูจิชั้น 5 (เส้นทางโยชิดะ)
มีรถบัสจากสถานีคาวากุจิโกะ เพื่อไปยังภูเขาฟูจิชั้น 5
(ใช้เวลาราว 1 ชั่วโมง)
ภูเขาฟูจิชั้น 5 → ที่พักบนภูเขาฟูจิชั้น 8
ขอให้ถึงชั้น 5 ก่อนเที่ยง
เราจะใช้เวลาขึ้นเขาไปยังที่พักบนชั้น 8
โดยใช้เวลา 4-5 ชั่วโมง
ชั้น 5 มีร้านอาหารหรือจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ
น้ำดื่ม ขนม หรือ ไม้เท้าสำหรับปีนเขาเป็นต้น
ถ้าหิว หรือมีอุปกรณ์อะไรที่ขาดเหลือ
ให้เตรียมได้ในที่แห่งนี้
และอย่าลืมเข้าห้องน้ำให้เรียบร้อยก่อนขึ้นเขา
เริ่มต้นปีนเขา
หลักจากเช็คความพร้อมเรียบร้อยทั้งเสบียง
และร่างกาย สภาพอากาศดี ลุย
ไปตามทางที่กำหนด มีคนประปราย ยังไม่มากนัก
เดินไปเรื่อย ๆ เดี๋ยวก็เจอป้ายบอกเส้นทาง
หนทางยังยาวไกล เส้นทางคดเคี้ยว
ขึ้นไปเรื่อย ๆ เริ่มเจอเมฆ ขออย่ามีฝน
อากาศดี วิวสวย อากาศเย็น ๆ
เราจะขึ้นไปถึงยอดได้จริง ๆ หรือ
การปีนขึ้นระดับความชันประมาณหนึ่ง
ระมัดระวังในแต่ละก้าว
ไม้นี้ไม่ได้เป็นไม้เท้าแต่อย่างใด
ซื้อมาจากชั้น 5 เพื่อประทับตราเพื่อเป็นที่ระลึกในแต่ละจุดพักเท่านั้น
เส้นทาง Yoshida เป็นสีเหลือง ดูสีให้ถูกไม่หลงแน่
ณ จุดนี้ ใช้เวลา 295 นาทีเพื่อถึงยอด
ไปเรื่อย ๆ
แต่ยังไม่ถึงจุดพักที่เราจองไว้ เพราะฉะนั้น ไปต่อ
แล้วจะไม่ให้ไม่ปวดขาได้อย่างไร
แต่ละขั้นก็สูงเหลือเกิน
ถือโอกาสให้คนแถวนั้นถ่ายรูปให้
ณ จุดพัก
ไม่รู้ทำไม ไม่ค่อยได้ถ่ายรูปบรรยากาศหลังจากนี้เท่าไร
สงสัยเหนื่อย
ที่พักที่จองไว้ด้านบน เป็นห้องขนาดใหญ่ นอนรวม ๆ กัน มี ถุงนอนขนาดกางไว้แล้ว
ระยะห่างกับคนข้าง ๆ จะ อยู่ราว ๆ 2-3 ช่วงแขน
ก่อนที่จะงีบเอาแรงเพื่อตื่นมาในช่วงเช้ามืด
ไปกินอาหารที่เขาจัดเตรียมไว้ให้ เป็นข้าวแกงกะหรี่
อยู่บนเขา อะไรก็อร่อย
กินเสร็จ ไม่รอช้า เข้าไปงีบเอาแรง
เวลาราว 6 โมงเย็น
บริเวณรอบที่นอน ๆ มีคนกุก ๆ กัก ๆ หรือ นอนกรนตลอด
แต่ใครจะสน เหนื่อยแล้ว ยังไงก็นอนได้ ราตรีสวัสดิ์
ที่พักบนภูเขาฟูจิชั้น 8 → ยอดเขาฟูจิ
ตื่นมาในเวลา ตี 2 กว่า
เตรียมเดินทางต่อไปสู่ยอดเพื่อไปดูพระอาทิตย์ขึ้น
ใส่ไฟฉายคาดหัวไว้ดูทางที่ตัวเองจะเดิน
ไม่ต้องกังวลว่าบริเวณรอบ ๆ จะมืด
เพราะคนใส่ไฟฉายคาดหัวเดินกันเป็นสายเยอะมาก
แทบจะเห็นไฟเป็นเส้น ๆ ขึ้นไปด้านบน
อากาศตอนนี้ค่อนข้างหนาว แต่ก็ต้องลุย
ถึงชั้น 10
ข้างบนคนมหาศาล มีร้านราเมงอยู่ด้านบนให้กิน
รสชาติไม่ต้องพูดถึง กินอะไรก็อร่อยตอนนี้
พระอาทิตย์ขึ้นมาเหนือเมฆสุดแสนจะประทับใจ
หลังจากดูพระอาทิตย์ขึ้นเสร็จ
บนยอดสามารถเดินขึ้นเขาไปเพื่อเดินรอบปล่องไฟ
(รอบปล่องไฟมีระยะทาง 4 กิโลเมตร เดินใช้เวลา 2 ชั่วโมง )
แต่รอบนี้ไม่ได้ไปเดิน ต้องเก็บแรงไว้ลงจากเขากลับบ้านด้วย
ยอดเขา → กลับ
ลงจากเขา ใช้เวลาน้อยกว่าการปีนขึ้นมา
แต่ไม่ได้หมายความว่าจะสบายกว่า
เพราะเป็นถนนหินกรวดที่มีความละเอียด
หมายความว่า มีโอกาสลื่นมาก (ถ้าไม่ใช่รองเท้าปีนเขา)
เห็นคนล้มกลิ้งต่อหน้าก็หลายคน
ตั้งสติในแต่ละก้าว อย่าเดินผิดท่าเดี๋ยวเจ็บหัวเข่า
เดินไปเรื่อย ๆ จนถึงชั้นที่ 5 กินข้าว พักผ่อนเรียบร้อย
ให้รอรถบัสไปสถานีคาวากุจิโกะโดยไว
เพราะคนใช้บริการเยอะมากจนมีโอกาสอย่างสูงที่ไม่ได้นั่ง
เดินทางกลับได้อย่างปลอดภัยในสภาพขาลากไม่ไหวแล้ววว (FIN)
ทิ้งท้าย
หลายคนอาจมีความรู้สึกที่ว่า
” อยากพิชิตยอดเขาฟูจิให้ได้สักครั้งในชีวิต ”
แน่นอนว่า
เส้นทางการพิชิตยอดไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ
แต่ถ้าเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็น “ร่างกาย” “อุปกรณ์” “ข้อมูล” ให้ดี
ความสำเร็จก็อยู่แค่เอื้อม
ในระหว่างการปีน
จะเจอบททดสอบกับความรู้สึกของตัวเองประมาณว่า
“Guมาทำอะไรที่นี้วะ ?”
“จะเหนื่อยไปทำไม กลับตอนนี้ยังทัน กลับดีมั้ย”
เดินไปคิดไป แต่ก็ไม่ได้คำตอบ
ได้คำตอบแค่ว่า “ต้องไปถึงยอดให้ได้”
ถ้าใครกำลังคิดอยากไปลองพิชิตยอดภูเขาฟูจิ
แต่รู้สึกกลัวหรือกังวลอยู่
อย่าได้กังวล
เราจะได้ประสบการณ์ใหม่ ๆ อย่างแน่นอน
สิ่งที่ได้รับหลังจากที่ปีนภูเขาฟูจิสำเร็จ
- รู้สึกภูมิใจที่ปีนสำเร็จ
- เกิดความมั่นใจในตัวเองในการทำสิ่งใด ๆ
- รู้ขีดจำกัดของตัวเอง
- ได้เข้าใจตัวเองมากขึ้น
ข้อควรระวัง
- Altitude Sickness (ภาวะแพ้ที่สูง) อย่าขึ้นเขาเร็วเกินไปจะทำให้เกิดการปวดหัว หายใจลำบาก
- หลงทาง (บางครั้งจะเจอทางแยก อย่าเดิมตามคนเฉย ๆ ให้ดูป้ายด้วย มิเช่นนั้นอาจเผลอเดินลงเขาไปในเส้นทางอื่นก็ได้)
- เวลาลงจากเขา ตั้งแต่ชั้น 8 ไปถึงชั้น 5 ไม่มีห้องน้ำ
มารยาทบนภูเขา
- ไม่ทิ้งขยะบนภูเขา หรือตามทาง
- ไม่เดินออกนอกเส้นทางที่กำหนดไว้ (เชือก) เนื่องจากอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้อื่นหรือตนเองได้ เช่น ก้อนหินจะร่วงใส่ด้านล่าง หรือมีหินมาร่วงมาใส่จากด้านบน)
- กรณีด้านบนรวมไปถึง ต้องไม่ข้ามเชือกเพื่อไปพักหรือถ่ายภาพด้วย
- เตรียมทิปเป็นเศษเหรียญ 100-300 เยน เมื่อใช้บริการห้องน้ำ
- “น้ำ”เป็นทรัพยากรที่มีค่าเป็นอย่างสูงบนภูเขาใช้อย่างระมัดระวัง
- ไม่เก็บก้อนหินหรือดอกไม้หรืออะไรก็ตามบนเขา
ข้อมูลเพิ่มเติม
- ที่พักที่ใช้บริการ Fujisan Hotel
- ที่พักอื่น ๆ ดูได้ที่ รายการที่พักในชั้นต่าง ๆ